คลองมหาสวัสดิ์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

คลองมหาสวัสดิ์

คลองลัดบางกรวย-บางกอกน้อย ไหลผ่านอำเภอพุทธมณฑลสู่แม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางราว 28 กม.

คลองนี้ขุดในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 เพื่อใช้เสด็จฯไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ หลังขุดคลองเสร็จ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ จับจองที่ดินว่างเปล่าสองฝั่งคลอง และให้สร้างศาลาริมคลอง สำหรับผู้สัญจรไปมา

ศาลาแห่งหนึ่งได้เขียนตำรายารักษาโรคต่างๆติดไว้ คนจึงเรียกกันว่า “ศาลายา” และยังมี “ศาลาดิน” และ “ศาลาทำศพ” ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “ศาลาธรรมสพน์”

ที่ดินริมคลองมหาสวัสดิ์ปัจจุบัน บางส่วนอยู่ในพื้นที่ตำบลศาลายาและตำบลมหาสวัสดิ์เป็นที่ดินที่ขึ้นอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นายปทุมบอกว่า “เมื่อปี พ.ศ.2518 สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้เปิดให้ชาวบ้านเข้ามาจับจอง ให้เช่าซื้อ และยังออกใบถือสิทธิ์ให้ชาวบ้านครอบครองได้โดยมีเงื่อนไขว่า ชาวบ้านห้ามขายเชิงการค้า ส่งต่อให้ลูกหลานได้ ถ้าไม่ส่งต่อให้ลูกหลานก็ต้องคืนให้กับทางการ”

การปฏิรูปที่ดินนี้เป็นไปตาม “แนวพระราชดำริ” ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเห็นว่าชาวบ้านทำนาได้ปีละครั้ง ซ้ำยังขาดที่ทำกินเป็นของตนเอง จึงพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์จำนวน 1,009 ไร่ ให้กับเกษตรกรทำมาหากิน โดยมีสำนักงานปฏิรูปที่ดินเป็นผู้ดูแลและจัดที่ทำกินให้ราษฎร เงื่อนไขมีว่า ต้องทำการเกษตร เพราะต้องการให้เป็นพื้นที่สีเขียว เกษตรกรที่ได้ที่ “พระราชทาน” ต่างน้อมนำเอาพระราชดำริมาเป็นที่ตั้ง แล้วปลูกข้าว พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา มะพร้าว กล้วย ขนุน ส้มโอ พร้อมพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ และส่วนหนึ่งใช้ทำนาบัว

นาบัว “ลุงแจ่ม” บ้านศาลาดิน

ลุงแจ่ม สวัสดิ์โต เดิมเคยทำนาข้าว ต่อมามองเห็นว่านาข้าวได้ผลปีละครั้ง ราคาข้าวก็ไม่แน่นอนทำให้รายได้ไม่แน่นอนไปด้วย จึงหันมาปลูกบัวเพราะเก็บผลผลิตได้ตลอดปี

ลูกสาวลุงแจ่มชื่อ ประไพ สวัสดิ์โต อายุ 57 ปี ย้อนอดีตให้ฟังว่า เมื่อก่อนเคยออกรับจ้างเก็บบัวหลวง ได้ค่าแรงวันละไม่กี่บาท ต่อมาหันมาทำนาบัว โดย “เราเริ่มทำเมื่อปี พ.ศ.2522 พันธุ์บัวสมัยนั้นเป็นบัวหลวง ซื้อจากเพื่อนบ้านบ้าง ปันเขามาบ้าง”

แรกๆก็พบว่า บัวหลวงขายไม่ค่อยดี เนื่องจากดอกใหญ่ แต่ดอกนิ่ม ไม่เป็นที่นิยมของลูกค้า ทำอยู่ประมาณ 3 ปีจึงเปลี่ยนพันธุ์บัวมาเป็น “ฉัตรบุษย์” กับ “ฉัตรบงกช” บัวสองพันธุ์นี้ได้รับความนิยมจากลูกค้าเท่าๆกัน และมีลักษณะเหมือนกันคือ เมื่อปล่อยให้ดอกแก่ ฝักจะลีบเล็กเหมือนกัน ดังนั้น ขั้นตอนการทำนาบัวทำกันอย่างไร “คุณติ๋ว” บอกว่า การดำพันธุ์บัวครั้งแรก ต้องทำเทือกคือตีดินให้เหลวก่อน นำพันธุ์บัวไปดำระยะห่างกอละสองวา สูบน้ำเข้าไปเลี้ยงไว้ ครึ่งเดือนบัวจะแตกไหลออกมา ผ่านไปประมาณ 1 เดือนจะมีดอกประปราย กอบัวจะแผ่ออกไปเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 เดือนก็เก็บผลผลิตได้ ผ่านไปประมาณ 4 เดือนต้องรื้อทิ้งแล้วปลูกใหม่

“เราต้องให้บัวเป็นสาวตลอด” คุณติ๋วเสริม ถ้าปล่อยให้ต้นแก่โคนดอกจะสีดำ ใบบัวก็สีดำ แม่ค้าไม่รับซื้อ เพื่อให้มีรายได้ตลอดปี คุณติ๋วจึงแบ่งที่นาออกเป็นสองแปลง ปลูกบัวหมุนเวียนกัน ขณะที่แปลงหนึ่งเก็บผลได้ อีกแปลงหนึ่งก็ปลูกขึ้นมาใหม่ คำว่าปลูกใหม่สำหรับพื้นที่ของคุณติ๋วคือ เมื่อบัวแก่เต็มที่แล้วก็เอารถอีแต๋นลงย่ำให้เป็นแนว เว้นช่วงย่ำให้เป็นแถวไว้ บัวที่ถูกย่ำจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยไป ส่วนบัวที่เว้นไว้เป็นแนวนั้นจะแตกกอขึ้นมาใหม่ ขยายกอไปเรื่อยๆ จนเจริญเติบโตเก็บดอกได้ บัวต้องกินปุ๋ยเหมือนพืชอื่นๆ แต่ที่สำคัญคือ “ระดับน้ำ” นาบัวต้องหล่อน้ำไว้ลึกประมาณ 60 ซม. ดอกบัวจะไม่โตตามต้องการ แต่ถ้าระดับน้ำสูงกว่า 60 ซม.ก็ได้เหมือนกัน บัวดอกใหญ่ดี แต่จะออกดอกน้อย

ดอกบัวจะออกมากน้อย นอกจากขึ้นอยู่กับปุ๋ยและระดับน้ำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย ถ้าเป็นฤดูร้อนจะออกดอกมากทำให้ราคาถูก ถ้าฤดูหนาวจะออกน้อยทำให้ราคาดี อย่างราคาดอกบัวในเดือนมีนาคม พ.ศ.2559 ดอกละ 1–3 บาท ดอกใหญ่ราคาแพงสุด

ตลาดของคุณติ๋วอยู่ที่บ้าน เพราะมีแม่ค้ามารับไปขายที่ปากคลองตลาด “เดี๋ยวนี้แม่ค้าบ่นว่า เจ้าหน้าที่เขาจัดระเบียบใหม่ ไม่ให้วางขายเหมือนก่อน ทำให้ขายได้ลดลง แต่เขายังมารับไปขายเหมือนเดิม แต่ละวันเราเก็บได้แค่ไหน เขาก็รับไปเท่านั้น ส่วนราคาขึ้นลงเป็นไปตามความต้องการของตลาด”

ปลายทางของ “ดอกบัว” ในนาคุณติ๋วคือหิ้งพระ

แต่ดอกบัวไม่ได้ใช้บูชาพระอย่างเดียว ยังทำอะไรอื่นๆได้อย่างน่าอัศจรรย์ เป็นต้นว่า กลีบบัวนำมากินกับเมี่ยงคำ เกสรบัวเอามาแกงเลียง กลีบบัวเอามาชุบแป้งทอด ใบอ่อนๆเอามาจิ้มน้ำพริก ใบบัวนำมาห่อข้าวใบบัว ดอกบัวบางชนิดที่แก่แล้วก็นำฝักไปกินได้ และ “ก้านบัวแก้ไซนัสได้ ตากแดดให้แห้ง แล้วเอามาสูบเหมือนยาสูบ” คุณติ๋วบอก

คุณติ๋วช่วย “ลุงแจ่ม” ทำนาบัวมานานปี เมื่อพ่อจากไปก็ไม่เคยคิดปันใจไปทำอย่างอื่น “เพราะเรารักอาชีพปลูกนาบัว รักดอกบัว ดอกบัวเขานำไปบูชาพระ เราทำตรงนี้ก็เหมือนทำให้คนอื่นได้สร้างกุศล ได้ทำบุญ เรานับถือศาสนาพุทธ” พระคุณของดอกบัว “ลุงแจ่ม” เคยสอนว่า “ให้รักอาชีพปลูกบัว อย่าไปเหยียบย่ำดอกบัว เราเก็บขึ้นมาอย่าไปข้าม ถ้าไม่เอาก็ใส่เข่งเอาไปใส่โคนต้นไม้ นานไปก็จะได้เป็นปุ๋ย” ปัจจุบันนาบัวของ “ลุงแจ่ม” มีคุณติ๋วเป็นผู้สืบทอด เป็นส่วนหนึ่งของรายการ “นำเที่ยว” ในคลองมหาสวัสดิ์ แต่ละวันนักท่องเที่ยวจะแวะเวียนเข้ามาชมดอกบัว สัมผัสกลิ่นอายของนาบัว คนที่ต้องการพายเรือออกไปเก็บดอกบัวด้วยมือตนเองก็มีเรือบริการให้ พอใจดอกไหนเก็บมาได้เลย เราคิดเงินแค่ดอกละ 4 บาท

การเปิดรับนักท่องเที่ยว “เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกร ก่อนพ่ออยู่เจ้าหน้าที่มาติดต่อขอนำนักท่องเที่ยวมาลง ท่านก็เลยรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามา ท่านมีความสุขมากที่ได้ความรู้จากนักท่องเที่ยว” นักท่องเที่ยวปัจจุบัน มีทั้งชาวไทยและต่างชาติ

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลhttps://www.tatcontactcenter.com/en/Blog-detail/7

จุดต่อมา บ้านฟักข้าว ขนิษฐา เป็นจุดให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฟักข้าว และการแปรรูปฟักข้าว จนกลายเป็นอาชีพและจุดขายใหม่ของชุมชน นอกจากจะได้เรียนรู้วิธีการทำน้ำฟักข้าวแสนอร่อย ยังได้ทราบข้อมูลการแปรรูปฟักข้าวเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น หมี่กรอบจากฟักข้าว สบู่ฟักข้าว ผู้เข้าชมยังได้ลองชิมน้ำฟักข้าวเย็น ๆ และน้ำอัญชัญใส่เนื้อมะพร้าวอ่อน ถ้าไม่สะใจมีบริการกลับบ้านเพียงขวดละ 15 บาทเท่านั้น

ฟักข้าว ชื่อสามัญ Gac (แก็ก )

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ Baby jackfruit, Cochinchin gourd, Spiny bitter gourd, Sweet gourd

ฟักข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

สมุนไพรฟักข้าว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะข้าว (แพร่), ขี้กาเครือ (ปัตตานี), พุกู้ต๊ะ (แม่ฮ่องสอน), ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) เป็นต้น

ถึงถิ่นท่าน ก็ไม่พลาดที่จะ ช๊อป แชะ

ลักษณะของฟักข้าว
ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ในประเทศจีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ)

อย่างกับของปลอม แต่จริงแท้แน่นอนน่ะค่ะ ลูกฟักข้าวเนี่ย

ใบฟักข้าว ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน โดยยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ประมาณ 3-5 แฉก
ดอกฟักข้าว ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ส่วนก้านเกสรและกลีบละอองจะมีสีม่วงแกมดำหรือสีม่วงแกมน้ำตาล ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกฟักข้าวจะเป็นดอกแบบไม่สมบูรณ์เพศ แยกเป็นดอกเพศเมียและดอกเพศผู้จะอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็ก ปลายใบมน ส่วนดอกเพศผู้ปลายใบแหลม ดอกฟักข้าวมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ

ผลฟักข้าว มีลักษณะคล้ายรูปไข่กลมรี ที่เปลือกมีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวอมเหลือง แต่เมื่อสุกแล้วผลจะมีสีแดงหรือสีส้มอมแดง ผลสุกเนื้อจะเป็นสีเหลือง มีเยื่อกลางหุ้มเมล็ดเป็นสีแดง

ปลูกแค่พ้นหัว ใครสูงมีแตกกันบ้างละงานนี้

เมล็ดฟักข้าว ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมากเรียงตัวอยู่คล้ายเมล็ดแตง ด้านในเมล็ดมีเนื้อสีขาว (เมล็ดดิบมีพิษ ต้องคั่วหรือต้มให้สุกก่อนนำมาใช้)

สรรพคุณของฟักข้าว
ผลอ่อนและใบอ่อนช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ (ผลอ่อน, ยอดฟักข้าว)
ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้ฝีในปอด (เมล็ด)
ใบฟักข้าวมีรสขมเย็น มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ)
รากช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
ช่วยขับเสมหะ (ราก)
ช่วยแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (เมล็ด)
ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
ใบช่วยแก้ริดสีดวง (ใบ)
ใบนำมาตำใช้พอกแก้อาการปวดหลังได้ (ใบ)
ช่วยแก้กระดูกเดาะ (ใบ)
ช่วยแก้ข้อเข่า อาการปวดตามข้อ (ราก)
เมล็ดแก่นำมาบดให้แห้ง ผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย นำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบ อาการบวม จะช่วยรักษาอาการได้ และยังช่วยรักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ผดผื่นคันต่าง ๆ อาการฟกช้ำได้อีกด้วย (เมล็ดแก่)
รากใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิษทั้งปวง (ราก)
ใบช่วยถอนพิษอักเสบ (ใบ)
ช่วยแก้พิษ แก้ฝี (ใบ) ช่วยแก้ฝีมะม่วง (ใบ)
ฟักข้าว สรรพคุณใบช่วยแก้หูด (ใบ)
เมล็ดฟักข้าว สามารถนำมาใช้แทนเมล็ดแสลงใจได้ (โกฐกะกลิ้ง)

น้ำฟักข้าว ของโปรด ประโยชน์เยอะ

ประโยชน์ของฟักข้าว

– มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า !
– ประโยชน์ของฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับ- ดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน (เยื่อเมล็ด)
– ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด
– ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด
-ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

– ประโยชน์ของฟักข้าวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
– ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด

แม่ลูกคู่นี้ ม่ะเคยเห็นลูกฟักข้าวอ่ะดิ…อิอิ

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอยพบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

– ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
– ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอหรืออาการอักเสบที่ลำคอ

ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ
รากฟักข้าวใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย (ราก)
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกันในเรื่องของการนำน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011” จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ
ผลอ่อนฟักข้าวใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นนำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น

เจ๊ะตุ้ยกะป้าเอ๋ นานๆเจอกันที ขาลุยทั้งคู่

ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ
ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

ที่นั่งแบบฟินฟิน ริมคลองมหาสวัสดิ์

ทุกวันนี้ในอาหารที่เรารับประทานกันเข้าไปเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายต่างๆเพราะในอาหารเนื้อสัตว์มีสารสังเคราห์ต่างๆที่เป็นอันตราย หลายคนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพกันและก็หาสมุนไพรที่ดีมาดื่มเพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายๆต่างๆ ข้อมูลที่มาฝากกันวันนี้หวังว่าคงมีประโยชน์แด่ผู้อ่าน ไม่มากก็น้อย

ยังค่ะยังไม่หมด วันนี้คุณป้ายังมีวิธีทำน้ำฟักข้าว มาฝากด้วยค่ะ

ส่วนผสมในการทำน้ำฟักข้าว
– ลูกฟักข้าวสุกเต็มที่ คือสีของลูกฟักข้าวที่แดงสดเต็มที่ 1 ลูก
– น้ำเสารสที่ค้นไว้แล้ว 2 ถ้วยตวง
– กระชอน,กะละมัง หม้อสำหรับต้มน้ำ
– น้ำเปล่า 5 ลิตร
– เกลือ 1-2 ช้อนชา

วิธีทำน้ำฟักข้าว
– ผ่าเอาเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดฟักข้าว ผ่าครึ่งกลางของลูก ใช้ช้อนตัก- เอาเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดมาใส่กระชอนที่เตรียมไว้ เพื่อแยกเยื่อออกจากเมล็ด เพราะส่วนที่เราจะใช้ทำน้ำฟักข้าวคือ เยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดเท่านั้่น เนื้อสีเหลืองก็สามารถนำมาใส่ได้ด้วย ใช้มือยีหรือขยำเพื่อให้เหมือกของสีแดงออกจากเมล็ด ใช้กระชอนกรองเอาไม่ให้เมล็ดหล่นลงไป เติมน้ำต้มสุกลงไปขณะที่แยกเมล็ดออก เพื่อง่ายแก่การคั้นเอาเนื้อแดงของลูกฟักข้าว
– เติมน้ำเปล่าเพิ่มลงไปใน น้ำฟักข้าวให้ได้จำนวน 5 ลิตร
– เติมน้ำเสารสที่เตรียมไว้ 2 ถ้วยตวง
– ใส่เกลือ 1-2 ช้อนชา
– ตอนนี้ น้ำฟักข้าวจะมีรสเปรี้ยวของน้ำเสารสและความกลมกลอมของเกลือ
– นำน้ำฟักข้าวไปต้ม ให้สุก แล้วพักไว้ให้เย็น แล้วนำไปแช่ตู้เย็น ก่อนการรับประทาน

หมายเหตุ :
– ถ้าต้องการเพิ่มรสชาติ สามารถเพิ่มน้ำตาลหรือน้ำผึ้งใส่เข้าไปได้
– ก่อนจะนำฟักข้าวไปรับประทาน ต้องทำให้สุกก่อนเสมอ

ขอบคุณแหล่งที่มา :

https://medthai.com

http://www.baannoi.com

เดินทางต่อไปจุดที่ 3 “บ้านศาลาดิน”

“ข้าวตังบ้านศาลาดิน” สินค้าขึ้นชื่อของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ รสชาติอร่อยถูกปากที่ไม่เหมือนที่ไหน

“ข้าวตังบ้านศาลาดิน” ถือกำเนิดจาก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ก่อตั้งเมื่อปี 2520 ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แรกๆ รวมกลุ่มแปรรูปผลไม้ตามฤดูกาล

นางแบบของเราน้องลิซ่าก็สู้ไม่ถอย ขนาดเพิ่งลงเครื่องจากสวิสบ่นว่าเจ็ทแหลก 

มีอยู่ครั้งหนึ่งนักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ถูกใจในรสชาติมะยมเชื่อมคลุกน้ำตาลจึงติดต่อขอซื้อ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ทางกลุ่มไม่สามารถส่งของให้ได้ เพราะไม่มีมะยมมากขนาดนั้น

ผลไม้ที่ออกผลตามฤดูกาลจะนำมาแปรรูปได้เพียงปีละครั้ง เมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ทำให้รู้ว่าจะลงมือทำอะไรต้องมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ ทางกลุ่มจึงนำปัญหานี้มาทบทวนจนตกผลึกว่า ต.มหาสวัสดิ์ มีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวนมาก

หากนำข้าวมาแปรรูปจะไม่ต้องประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบแน่นอน ในที่สุดมติกลุ่มเห็นชอบที่จะแปรรูปข้าวเป็น “ข้าวตัง” จากนั้นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ได้ทำข้าวตังตระเวนส่งวางขายทุกร้านค้าในย่านคลองมหาสวัสดิ์

ทำให้เดือนแรกมียอดส่งขายเยอะมาก แต่เดือนต่อมาต้องไปเก็บกลับ เพราะทางร้านขายไม่ได้ และทางกลุ่มขาดทุนทำให้กลุ่มแตกแยกเพราะขาดเงินทุนหมุนเวียน “ข้าวตังไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ผู้ซื้อไม่รู้จัก ทางร้านจัดเรียงสินค้าไว้ล่างสุดทำให้ขายไม่ได้กลุ่มจึงล่มสลาย

งานนี้ป้ายกเป็นตั้งกลับบ้านเลยขอบอก ของโปรดลุงอ่ะ

ต่อมาได้รับคำแนะนำจากหลายฝ่าย จึงมีการรวมกลุ่มกันอีกครั้ง คราวนี้ใช้ชื่อแบรนด์ว่าข้าวตัง Gift Cat แต่ครั้งนี้ไม่ได้เร่ขายหรือส่งขายที่ไหน ปักหลักขายที่เลียบคลองมหาสวัสดิ์ แต่เราใช้ต้นทุนทางธรรมชาติที่มีทำชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยววิ่งเข้ามาหาเรา ล่องเรือชมสวนพร้อมกับชิมของอร่อย”

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไม่มากนักวันละ 20-30 คน แต่ทุกคนซื้อข้าวตังนำไปเป็นของฝากทุกราย หลังจากนั้นเริ่มบอกกันปากต่อปากทำให้มีนักท่องเที่ยวมาล่องเรือชมสวนและแวะมาอุดหนุนกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าข้าวตังจะขายดี แต่ไม่มีใครจดจำข้าวตัง Gift Cat ได้ ทุกคนรู้จักแต่ข้าวตัวคลองมหาสวัสดิ์ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนแบรนด์ข้าวตังบ้านศาลาดิน ปัจจุบันใช้แบรนด์ “ข้าวตังบ้านศาลาดิน” ใช้มาเกือบจะ 3 ปีแล้ว นักท่องเที่ยวรู้จักกันเป็นอย่างดี

ส่วนช่องทางการโปรโมทข้าวตัง ได้กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาสัมผัสธรรมชาติช่วยกันโปรโมท โดยเฉพาะบนโลกโซเชียล เพราะทุกคนจะถ่ายรูป ถ่ายคลิปโพสต์กัน ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

สำหรับข้าวตังบ้านศาลาดินนั้น มีหลากหลายเมนู เช่น หน้าหมูหย็อง หมูหย็องพริกเผา และธัญพืช ส่วนแผ่นข้าวตังมีทั้งข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวตังสด ใครอยากชิมแวะไปได้ที่บ้านศาลาดิน เลียบคลองมหาสวัสดิ์

แหล่งที่มา : https://www.posttoday.com/market/sme/417969

นอกจากข้างตังศาลาดินแล้ว ทุกเสาร์ – อาิทตย์ ยังมีตลาดนัดศาลาดิน ให้นักท่องเที่ยว เลือกซื้อหาของฝากกลับบ้านกันอีกด้วย

ศูนย์ OTOP บ้านศาลาดิน เปิดบริการในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตำบลมหาสวัสดิ์เป็นตำบลที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงประวัติศาสตร์ และมีคลองประวัติศาสตร์นี้ มีสิ่งสำคัญอันได้แก่ คลองมหาสวัสดิ์

เมี่ยงคำตำหรับชาววัง ป้าลองแล้ว ต้องซื้อกลับ

ประชาชนริมฝั่งคลองมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ อีกทั้งมีทัศนียภาพเป็นธรรมชาติสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ และการเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนแหล่งทุนทางวัฒนธรรมควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีแหล่งรวมอาหารและสินค้าอีกทั้งยังเป็นการ

มีดอรัญญิก มีมาจำหน่ายถึงศาลาดิน ใครกล้ามีเรื่องกับคนที่นี่ก็ลองดูน่ะ

เพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้าทางการเกษตรทำให้เกิดการกระจายรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่นในการนำผลผลิตทางการเกษตรอาหาร และสินค้ามาจำหน่ายเป็นหนึ่งกระบวนการในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้มั่นคง ซึ่งมีเกษตรกรและประชาชนในชุมชนนำสินค้า OTOP สินค้าทางการเกษตร อาหารแปรรูป ขนมพื้นบ้าน ต่างๆมาร่วมตั้งแผงขายร่วม 200 แผง ตลาดน้ำคลองมหาสวัสดิ์บ้านศาลาดินยังมีการล่องเรือชมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ไว้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

ไข่เค็ม ไอโอดีนเชียวน่ะ

ขนมไทยก็มีมาให้เลือกซื้อ ฝีมือแม่บ้านชุมชนศาลาดิน

ผลไม้ ผักสดๆ จากสวน มีมาจำหน่ายถึงมือลูกค้าเลยค่ะ

ล่องเรือชมสวน เลียบคลองมหาสวัสดิ์ “สวนผลไม้ ลุงบุญเลิศ”

ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์ สัมผัสกับธรรมชาติและความเพลิดเพลินจากสองริมฝั่งคลอง ที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนแบบดั้งเดิม รวมทั้งความสวยงามของการทำเกษตรกรรม เหมาะแก่การท่องเที่ยว

ในรูปแบบที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และขยายโอกาสให้แก่ประชาชนในภาคเกษตร ซึ่งเป็นการสร้างช่องทางตลาดให้กับชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้โดยตรงจากการจำหน่ายสินค้าเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรและชุมชนได้เป็นอย่างดี

มาถึงโค้งสุดท้ายของการเดินทาง คือ ไร่นาสวนผสมของลุงบุญเลิศ ซึ่งมีพื้นที่จำนวนราว 40 ไร่ 

สะพานข้ามคลองจากวัดสุวรรณไปสวนลุงบุญเลิศ

ทางเข้าสวนลุงบุญเลิศ

โดยการทำสวนผลไม้ในพื้นที่ด้านหน้า และใช้พื้นที่ด้านหลังเป็นนาข้าว สวนผลไม้ของลุงบุญเลิศ ไม่ได้มีเพียงผลไม้ที่ยกมาให้ชิมเท่านั้น ยังมีความสนุกตื่นเต้นในการเดินทาง อย่างการนั่งรถอีแต๋น โดยมีลุงบุญเลิศเป็นโซเฟอร์ขับรถอีแต๋น พาเราเข้าไปชมสวนจนถึงทุ่งนา ซึ่งบอกได้คำเดียวว่า มันสุดๆ จนต้องอยากกลับเที่ยวกันอีกรอบ

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นศูนย์การเรียนรู้ ถือเป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนจากการจำหน่ายผลผลิตการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูป และค่าตอบแทนจาการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนเกษตรได้เป็นอย่างดีไปพร้อมกันด้วย.

พร้อมแล้ว…ลุย!!!

รถอีแต๋น ยานพาหนะคู่ใจของลุงบุญเลิศ ไฮไลน์ของทริปนี้เลยแหละ!!!

กาคงเยอะน่ะ ลุงบุญเลิศเตรียมหุ่นไว้เพียบอ่ะ

มะกอกต้นนี้เกิน 3 ตะกร้าชัวร์!!!

ก่อนกลับขอป้าสักแชะ!!!

ยังคร่าๆๆๆๆ ยังไม่หมดแค่นี้ ยังมี แอร์ออคิด กะ ตลาดน้ำลำพญา ไหนจะวัดลำพญาอีก รอป้าแปร๊บบบๆๆๆ น่ะค่ะ ขอเคลียร์งานแปร๊บแล้วจะมาลงให้ค่ะ….

รูปภาพเพิ่มเติม มาดูกันเลยจร้าๆๆๆๆๆ คลิ๊กเลยๆๆๆ

WhatsApp chat